Basic Commands
Basic Linux Command Interface
Last updated
Basic Linux Command Interface
Last updated
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University
Useful shortcuts
Shortcut | คำอธิบาย |
---|---|
Basic Commands
ชุดคำสั่ง | คำอธิบาย | ตัวอย่าง |
---|---|---|
ผู้ใช้สามารถป้อนคำสั่งมากกว่าหนึ่งคำสั่งไปพร้อมกันโดยใช้ตัวดำเนินการควบคุม (Control Operators) ได้แก่ ||
&&
&
;
;;
|
(
)
เป็นต้น ซึ่งการเรียงชุดคำสั่งอย่างง่ายที่สุดในกรณีที่มีมากกว่า 1 คำสั่งเป็นต้นไป จะใช้เครื่องหมาย ;
อัฒภาค (semicolon) shell จะรับคำสั่งและดำเนินการทีละคำสั่งตามลำดับ ในกรณีที่จะมีการตรวจสอบผลลัพธ์การทำงานของแต่ละคำสั่งว่าสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์จะมีการคืนค่ากลับคือถ้าคืนค่ากลับมาเลขศูนย์จะหมายถึงคำสั่งดำเนินการสำเร็จ แต่ถ้าเป็นตัวเลขอื่นๆจะถือว่าคำสั่งนั้นทำงานล้มเหลว ดังนั้นผู้ใช้สามารถกำหนดเส้นทางการทำงานตามเงื่อนไขที่ออกมาโดยใช้ตัวดำเนินการ AND &&
และ OR ||
ตัวอย่างเช่น
จากคำสั่งข้างต้น ไฟล์ test.txt มีอยู่ในไดเรกทอรีจึงทำให้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์คืนค่ากลับมาเป็นศูนย์ คำสั่งถัดไปจึงทำงานต่อได้ แต่ในขณะที่ไฟล์ mail.txt ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี แสดงถึงการทำงานล้มเหลว ทำให้ไม่มีการทำคำสั่งตัวถัดไป แต่หากใช้ตัวดำเนินการ ||
คำสั่งถัดมาจะถูกทำงานในกรณีที่คำสั่งแรกมีการคืนค่ากลับมาไม่เท่ากับศูนย์ ดังตัวอย่างข้างล่าง
แต่หากต้องการนำตัวดำเนินการ && และ || มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขเหมือนชุดคำสั่ง if (เงื่อนไข) ..(จริง).. else ..(เท็จ).. หรือ if (เงื่อนไข) ? ..(จริง).. : ..(เท็จ).. ในภาษาโปรแกรมทั่วไป จะมีรูปแบบการเขียนดังนี้
รายละเอียดขบวนการทำงานของ Shell ในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ จะมีพื้นฐานสำคัญคือ วิธีการเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมและสิ่งแวดล้อมของตัวโปรแกรมเองภายในเทอร์มินัล (Terminal) ที่เรียกว่า I/O ซึ่งรูปข้างล่างนี้เป็นการแสดงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ I/O มาตราฐานพื้นฐานของระบบที่มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
ตารางรายละเอียดพื้นฐานของ Standard I/O
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นั้นได้เตรียมเครื่องมือตัวดำเนินการที่สามารถควบคุมกลไกการไหลของข้อมูลจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่งหรืออธิบายง่ายๆคือการเปลี่ยนเส้นทางข้อมูลว่าจะให้ออกตัว standard stream ตัวใด โดยการใช้ตัวดำเนินการ <
แทน stdin (Standard Input) และ >
แทน stdout (Standard Output) ซึ่งตัวดำเนินการ redirection นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบตามรายละเอียดในตารางข้างล่าง
ตารางตัวดำเนินการ redirection
ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานการส่งอินพุทจากไฟล์ /etc/passwd ให้กับคำสั่ง grep และการส่งอินพุทจากการป้อนข้อความให้กับคำสั่ง sort ดังแสดงข้างล่าง
เมื่อมีการใช้ตัวดำเนินการ >
ผลลัพธ์จากคำสั่งจะถูกส่งไปเก็บไว้ในไฟล์ /tmp/results แทนที่จะออกหน้าจอ ดังตัวอย่างข้างล่าง
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง cat เพื่อแสดงข้อมูลภายในไฟล์ จะมีการแสดงข้อความผิดพลาด (Error message) ออกทางหน้าจอ ถ้าไฟล์นั้นไม่มีอยู่ในไดเรกทอรี
สามารถกรองข้อความผิดพลาดให้ไปเก็บไว้ในไฟล์ชื่อ error.log ด้วยตัวดำเนินการ 2>
ในกรณีที่ไม่ต้องการเก็บข้อความผิดพลาด สามารถทำได้โดยส่งไปให้ไฟล์ชื่อ /dev/null
บันทึกข้อความผิดพลาดเพิ่มต่อเข้าไปในไฟล์ error.log ด้วยตัวดำเนินการ 2>>
Last updated: July 2023
Authors:
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux
Thanaluk Pranekunakol (AIC-Researcher), Waratith Sawangboon (AIC-Researcher)
Stream มาตราฐาน | FD | รายละเอียด |
---|---|---|
ตัวดำเนินการ | รายละเอียด |
---|---|