Get to know with arrays

การใช้งานอาร์เรย์นั้นค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนเพราะว่า บนตัวอาร์เรย์นั้นเก็บค่าไว้มากมาย ทำให้การที่เราจะระบุหรือเรียกใช้งานอาร์เรย์ทั้งหมดนั้นจำเป็นจะต้องใช้การวนรอบเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่น

การแสดงค่าที่อาเรย์เก็บไว้ทั้งหมดตามลำดับ

int arr[] = {11,4,2,77,112,69,420,13};
int n = sizeof(arr)/sizeof(arr[0]);; //find length of array
for (int i=0;i<n;i++){
    cout<<arr[i]<<" "; // print untill the end of array
  }

จะเห็นได้ว่าเราจะต้องหาความยาวของอาร์เรย์เพื่อนำมาใช้ในการวนรอบโดยหลักการคือ "นำแอดเดรสถัดจากอาร์เรย์ - แอดเดรสของอาร์เรย์ " สิ่งที่ได้มาก็คือจำนวนช่องของอาร์เรย์ที่ใช้งานไปนั่นเอง

การรับค่าใส่อาเรย์ทั้งหมดตามลำดับ

int arr[8];
int n = sizeof(arr)/sizeof(arr[0]);; //find length of array
for (int i=0;i<n;i++){
    cout<<"Please enter integer : ";
    cin >> arr[i]; // enter untill the end of array
  }

เราสามารถกำหนดค่าไปใส่แค่บางส่วนของอาร์เรย์ได้เช่น cin >> arr[X] ; หรือ arr[X] = 10; เพื่อกำค่าใหม่ในอาร์เรย์ช่องที่ [X]

การสร้างฟังค์ชั่นเพื่อรับอาร์เรย์

void printarr(int arr[],int n) { //(array name, lenght of array)      
  for (int i=0;i<n;i++){
    cout<<arr[i]<<" ";
  }

การสร้างฟังก์ชั่นอาร์เรย์นั้นควรจะมีการส่งขนาดของอาร์เรย์มาด้วยเสมอ เนื่องจากภาษา c++ การกำหนด agreement ว่า "int ArrayName[ ]" จะมีค่าเท่าการประกาศว่า "int * ArrayName" ทำให้สิ่งที่เข้ามาในฟังก์ชั่นนั้นไม่ใช่ตัวอาร์เรย์ แต่เป็นค่าพ้อยเตอร์ของอาร์เรย์ ทำให้ขนาดของอาร์เรย์ที่อยู่ในฟังก์ชั่นนั้นมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริง (เนื่องจากเป็นขนาดของพ้อยเตอร์)

คำเตือน เนื่องจากค่าที่รับมาคือพ้อยเตอร์ของอาร์เรย์ ค่าใดๆก็ตามที่ทำให้อาร์เรย์ในฟังก์ชั่นเปลี่ยนค่า ค่าอาร์เรย์ที่ส่งมาให้ฟังก์ชั่นก็จะเปลี่ยนตามด้วยเช่นกัน

Last updated