Pixel and Color
Last updated
Last updated
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University
พิกเซล (Pixel) เป็นส่วนประกอบสำคัญของรูปภาพ ทุกภาพประกอบด้วยชุดพิกเซล โดยปกติพิกเซลถือเป็น "สี" หรือ "ความเข้ม" ของแสงที่ปรากฏในสถานที่ที่กำหนดในภาพ ถ้าคิดว่ารูปภาพเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละช่องในตารางจะมีพิกเซลเดียว
ตัวอย่าง
ภาพมีขนาด 600x450 หมายความว่า ภาพกว้าง 600 และสูง 450 พิกเซล ถ้าเทียบเป็นตารางพิกเซลจะได้ 600 คอลัมน์และ 450 แถว โดยรวมแล้วมี 600 x 450 = 270,000 พิกเซล
พิกเซลส่วนใหญ่แสดงเป็นสองลักษณะ คือ ระดับสีเทา (Gray scale) และสี (RGB) ในภาพระดับสีเทาแต่ละพิกเซลมีค่าระหว่าง 0 ถึง 255 โดยที่ค่า 0 จะตรงกับ "ดำ" และ 255 เป็น "สีขาว"
ภาพสี (RGB) ในหนึ่งพิเซลจะประกอบไปด้วย 3 ค่า คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยทั้งสามค่าจะมีค่าความเข้มอยู่ในช่วง 0 ถึง 255 เช่นเดียวกับภาพระดีบสีเทา สามารถเขียยนให้อยู่ในรูป tuple ได้ดังนี้ (R,G,B)
หากเปรียบเทียบภาพเป็นตาราง จุดพิกัดเริ่มต้น (0,0) ของภาพจะอยู่ที่มุมซ้ายบน และจุดพิกัดสุดท้าย (x,y) ของภาพจะอยู่ที่มุมล่างขวาของภาพ ซึ่งจุดพิกัดสุดท้ายจะมีขนาดเท่ากับขนาดของภาพเสมอ ดังภาพตัวอย่างต่อไปนี้
บรรทัดที่ 1-2 : การเรียกใช้ไลบารี่ที่เกี่ยวข้อง
บรรทัดที่ 6 : รับตัวแปรขนาดลำดับที่ 0 และลำดับที่ 1 ของภาพ โดยที่ขนาดของภาพจะถูกเก็บในลักษณะอาร์เรย์ ซึ่งจะเรียงจาก ความสูง (h) ความกว้าง (w) และช่องสีของภาพ (3 สี) ตามลำดับ
บรรทัดที่ 8 รับตัวแปรค่าสีที่ตำแหนงเริ่มต้น (0,0) ของภาพ โดยค่าสีของภาพจะถูกเก็บในลักษณะอาร์เรย์ ซึ่งจะเรียงจาก สีน้ำเงิน (Blue) สีเขียว (Green) และสีแดง (Red) ตามลำดับ
การแปลงภาพจากพื้นที่สีหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
Parameter:
image => ภาพที่ต้องการนำมาใช้งาน
flag => กำหนดประเภทของการแปลง
flag ที่นำมาใช้
cv2.COLOR_BGR2GRAY = แปลงภาพสี BGR เป็นภาพสีเทา
cv2.COLOR_BGR2HSV = แปลงภาพสี BGR เป็นภาพสี HSV
Example: