Introduction to ESD
Introducing to embedded design
Last updated
Introducing to embedded design
Last updated
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University
Embedded system หรือระบบสมองกลฝังตัวคือ ระบบที่มีฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ทำงานร่วมกัน ไม่ขึ้นกับว่าระบบจะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหน แต่อะไรกันที่จะทำให้เราจำแนกระบบสมองกลฝังตัวออกจากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทั่วๆไปตารางข้างล่างจะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสมองกลฝังตัวและคอมพิวเตอร์
สามารถใช้ตอบโจทย์ได้หลายอย่างด้วยตัวเอง
ตอบโจทย์ได้บางอย่างตามที่ออกแบบเท่านั้น
มีทรัพยากรในการคำนวณมาก
มีทรัพยากรในการคำนวณน้อย
มีขนาดที่ใหญ่เมื่อเที่ยบกับ embedded
มีขนาดเล็ก
มีความสามารถในการประมวลผลได้เร็ว
สามารถประมวลผลได้ช้ากว่าคอมพิวเตอร์
ใช้พลังงานในการประมวลผลมากกว่า embedded
ใช้พลังงานในการประมวลผลน้อย (<100watt)
แต่ข้อที่ระบุมาข้างต้นนั้นเป็นนิยามสำหรับการแบ่งประเภทเท่านั้น ในปัจจุบัน ความสามารถของตัว Embedded system ได้พัตนาอย่างสูงขึ้นมาก และมีประสิทธิภาพเกือบเท่าเทียมกับคอมพิวเตอร์แล้ว
นอกจากนั้นตัว Embeded เองยังประหยัดพลังงานมากกว่าทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันล้วนเป็นอุปกรณ์ embedded เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น กล้องดิจิตอล เครื่องขายของอัตโนมัติ อุปกรณ์ทางการแพทย์ โทรศัพท์ รถยนต์ แม้กระทั่งในเครื่องบินเองก็เป็น embedded system เกือบทั้งหมดในขณะเดียวกันที่ตัว Embedded system เองทำตัวเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ขึ้นทุกทีแต่ความหลายหลายของมันนั้นมีตั้งแต่ระบบง่ายๆควบคุมเพียงไฟเข้าออกไม่มีหน้า UI อะไรเลย จนไปถึงทำหน้าที่เป็น GUI ของจอสมาร์ทโฟนที่มีทั้งระบบทัชสกรีน ระบบสั่นและรับส่งข้อมูลผ่าน wifi ตัวอย่างการใช้งานของระบบสมองกลฝังตัว
ระบบยานยนต์
Proximity Warning System
Cruise control
ระบบกันหลับใน
ระบบไฟเลี้ยว
โทรศัพท์สมาร์ทโฟน
การรับคำสั่งจาก touch screen
Fingerprint scan
Face recognition
ระบบสั่น
ระบบอุตสาหกรรม
การควบคุมสายพาน
หน้าจอ HMI
เซนเซอร์นับจำนวน
เซนเซอร์ตรวจจับผลิตภัณฑ์เสียหาย
อุปกรณ์ทางการแพทย์
MRI CT scan
เครื่อง X-rays
กล้อง Bronchoscopy (กล้องส่องหลอดลม)
เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ
อ้างอิง :
Last update: May 2022
Author: Thanaluk Pranekunakol (AIC-Researcher)