If and If else

Make a condition and run it.

เมื่อเราเขียนโปรแกรมโดยที่เราต้องการให้โปรแกรมทำตามคำสั่งโดยเงื่อนไขบางอย่าง เราสามารถกำหนดเงื่อนไขนั้นๆ ได้โดยการใช้คำสั่ง if โดยหลักการของคำสั่งจะเป็นไปตามด้านตัวอย่างแบบต่างๆด้านล่างดังนี้

การเขียนโปรแกรมสร้างเงื่อนไขด้วย if

Syntax การเขียน if statement นั้นจะเป็นดังนี้

if (condition) {

things you want to do;

}

#include<iostream>
using namespace std;

int main (){
    int A = 0;
    cout<<"Please enter a number to A: "<< endl;
    cin >> A;

    if(A<5){
        cout<<"Condition met"<<endl;
    }
    
    return 0;
}

นอกจากนั้นเราสามารถใส่เงื่อนไขได้มากกว่า 1 เงื่อนไขได้ในหนึ่ง condition

#include<iostream>
using namespace std;

int main () {
    int A = 0;
    cout<<"Please enter a number to A: "<< endl;
    cin >> A;

    if(A<5 && A >1){ // two condition need to met
        cout<<"Condition met"<<endl;
    }
    
    return 0;
}

หรือเราสามารถใส่เงื่อนไขหลายๆข้อได้โดยการนำ if มาต่อกัน

#include<iostream>
using namespace std;

int main () {
    int A = 0;
    cout<<"Please enter a number to A: "<< endl;
    cin >> A;

    if(A<8) {
        cout<<"A less than 8"<<endl;
    }
    if(A<6) {
        cout<<"A less than 6"<<endl;
    }
    if(A<4) {
        cout<<"A less than 4"<<endl;
    }
    if(A<7) {
        cout<<"A less than 7"<<endl;
    }
    if(A<5) {
        cout<<"A less than 5"<<endl;
    }
    
    return 0;
}

เมื่อรันแล้วจะเห็นได้ว่าทั้งสามรูปแบบต่างมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองซึ่งอยู่กับสถานะการณืของการออกแบบของผู้ใช้ว่าแบบไหนจะเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้เขียนโปรแกรมที่ต้องการ

การเขียนโปรแกรมสร้างเงื่อนไขด้วย if else

Syntax การเขียน if else statement นั้นจะเป็นดังนี้ โดยการทำงานของมันจะทำสองอย่างคือ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขจะทำคำสั่งที่อยู่ภายใต้วงเล็บของ if และถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะไปทำงานอยู่ภายใต้วงเล็บของ else

if (condition) {

things you want to do;

}

else {

things you want to do if it not met the condition;

}

#include<iostream>
using namespace std;

int main () {
    int A = 0;
    cout<<"Please enter a number to A: "<< endl;
    cin >> A;

    if(A == 8) {
        cout<<"A equal 8"<<endl;
    }
    else {
        cout<<"A is other number than 8"<<endl;
    }
    
    
    return 0;
}

เรายังสามารถกำหนดเงื่อนไขอื่นๆได้มากกว่า 1 เงื่อนไขเช่นเดียวกับการเขียนเงื่อนไขแบบ if ธรรมดา

#include<iostream>
using namespace std;

int main () {
    int A = 0;
    cout<<"Please enter a number to A: "<< endl;
    cin >> A;

    if(A < 4) {
        cout<<"A less than 4"<<endl;
    }
    else if(A < 3) {
        cout<<"A less than 3"<<endl;
    }
    else if(A < 7) {
        cout<<"A less than 7"<<endl;
    }
    else if(A < 8) {
        cout<<"A less than 8"<<endl;
    }
    else if(A < 9) {
        cout<<"A less than 9"<<endl;
    }
    else {
        cout<<"A is 9 or larger"<<endl;
    }
    
    
    return 0;
}

จากการรัน code ตัวอย่างด้านจะเห็นว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ A เข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งแล้วเป็นจริง จะไม่ทำการตรวจสอบเงื่อนไขอื่นๆต่อ นี่คือเอกลักษณ์ของการใช้ if else แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนจำเป็นต้องระมัดระวังในการเขียนเงื่อนไขที่ไม่จำเป็น

จากตัวอย่างด้านบน ผู้ศึกษาสามารถตอบได้หรือไม่ว่าเงื่อนไขใดที่ไม่จำเป็นในโปรแกรม?

แหล่งอ้างอิง :

https://www.w3schools.com/cpp/cpp_conditions.asp

Last updated

Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University