System V
Message Queue based on System V
จะมีลักษณะคล้ายกับไฟล์ pipe คือสามารถส่งบล็อกข้อมูลจากโปรเซสหนึ่งไปยังอีกโปรเซสหนึ่งผ่านลีนุกซ์คอร์เนลเช่นเดียวกัน โดยแต่ละบล็อกข้อมูลจะมีหมายเลขอ้างอิงกำหนดไว้ให้เพื่อให้โปรเซสอื่นๆสามารถอ้างอิงหมายเลขข้อมูลที่ต้องการนั้นได้ ซึ่งจะไม่เหมือนกับการส่งข้อมูลผ่าน pipe ซึ่งทั้งสองโปรเซสจะต้องรอซึ่งกันและกัน ดังนั้นขั้นตอนการส่งข้อมูลแบบ message queue จะมีขั้นตอนคือโปรเซสที่ทำการเขียนข้อมูลไปยัง queue (ด้วยคำสั่ง msgsnd
) แล้ว ก็สามารถจบการทำงานได้ทันที ถ้าโปรเซสใดต้องการอ่านก็สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลใน queue ได้ภายหลัง (ด้วยคำสั่ง msgrcv
) ซึ่งตัว message queue เปรียบเสมือนกล่องส่วนกลางที่จะมีโปรเซสใดก็ได้ที่สามารถเข้ามาทิ้งข้อมูลไว้ หรือจะมีโปรเซสใดก็ได้ที่จะเข้ามาดึงข้อความจากกล่องที่แชร์ไว้นี้ได้
ภายใต้มาตราฐาน System V IPC เมื่อโปรเซสมีการสร้าง message queue แล้ว แม้ว่าโปรเซสนั้นถูกทำลายหรือสิ้นสุดการทำงานไปแล้วก็ตาม แต่ตัว message queue นั้นก็ยังค้างอยู่ในระบบซึ่งสามารถใช้คำสั่ง ipcs ภายใน shell เพื่อแสดงรายการ message queue ที่มีอยู่ในระบบดังตัวอย่างการใช้งานข้างล่างและสามารถใช้คำสั่ง ipcrm
เมื่อต้องการลบ message queue ออกไปจากระบบ
ตัวอย่างเช่น โปรแกรม A ต้องการสร้างกุญแจ เพื่อทำการสร้าง message queue ตัวใหม่ จะมีขั้นตอนดังนี้
ซึ่งจากคำสั่งข้างต้นก็จะได้ message queue ที่มีสิทธิ์การเข้าถึงเป็น 666
หรือ rw-rw-rw-
และหมายเลขเฉพาะของ msqid
เพื่อให้โปรเซสอื่นๆอ้างอิงหมายเลขของ message queue ที่ต้องการจะเข้าถึงได้ แต่อย่างไรก็ตามโปรเซสใดก็ตามถ้าต้องการเข้าถึง message queue ที่ถูกสร้างโดยโปรแกรม A ก็จะต้องมีขั้นตอนในการนำกุญแจที่จะสามารถเข้ามาเปิดเอาหมายเลข message queue นั้นได้ ดังนั้น โปรแกรมอื่นๆ จึงจำเป็นต้องใช้พารามิเตอร์ภายในฟังก์ชัน ftok()
เดียวกันโปรแกรม A ใช้ แล้วจึงจะได้หมายเงขของ message queue (msqid) โดยใช้คำสั่งภายในดังตัวอย่างโปรแกรมข้างล่างนี้
หลังจากสร้างกุญแจและ message queue ได้เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม message queue ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดบล็อกข้อมูล ที่จะถูกจำกัดขนาดไว้รวมทั้งจำนวนบล็อกทั้งหมดที่มีบนระบบก็จะถูกจำกัดไว้เช่นกัน ซึ่งภายในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ตัวแปรบล็อกข้อมูลจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ MSGMAX(4096)
และ MSGMNB(16384)
ซึ่งตัวแรกจะหมายถึงความจุของแต่ละบล็อกข้อความ และตัวที่สองจะหมายถึงความจุทั้งหมดของ queue แต่ในบางระบบ ค่าเหล่านี้อาจจะแตกต่างกันไป หรืออาจจะไม่ใช้ค่านี้เลยก็เป็นได้
ในทางปฏิบัติการสร้างข้อมูลเพื่อนำไปเก็บไว้ใน message queue จะมีการสร้างให้อยู่ในลักษณะตัวแปรแบบ struct เช่น
ซึ่งสังเกตว่าจะมีการกำหนดตัวแปร mtype ที่เป็นชนิด long ไว้เริ่มต้นเสมอ ตามคำแนะนำของการใช้งาน message queue ดังนั้นเมื่อต้องหาขนาดของข้อมูลที่แท้จริง จำเป็นจะต้องลบด้วยขนาดของตัวแปร mtype ก่อนเสมอ เช่น

แสดงตัวอย่างโปรแกรมสำหรับส่งบล๊อกข้อมูลเข้าไปใน Message Queues โดยสร้างโปรแกรมส่งข้อมูลไปเก็บไว้ใน message queue ชื่อว่า msg_sender.c
และโปรแกรมสำหรับอ่านค่าจาก message queue ชื่อว่า msg_receiver.c
ดังข้างล่างนี้
โปรแกรม msg_receiver.c
สำหรับอ่านบล๊อกข้อมูลภายใน Message Queues ที่โปรแกรม msg_sender.c
เขียนข้อมูลเข้าไป
ทำการคอมไพล์โปรแกรม msg_sender
แล้วรันโปรแกรมเพื่อพร้อมเขียนข้อมูลลง message queue ต่อไป
กลับมาที่ หน้าต่าง Terminal ที่ 1 เพื่อทำการพิมพ์ข้อความเพื่อส่งไปยัง msg_receiver ดังตังอย่างข่างล่าง
หน้าต่าง Terminal ที่ 1
จะสังเกตุเห็นข้อความปรากฏขึ้นในหน้าต่าง Terminal ที่ 2 เนื่องจากโปรเซส msg_receiver ได้รับแล้วแสดงดังนี้
หน้าต่าง Terminal ที่ 2
Last updated
Was this helpful?