UNIX/Linux Evolution
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ UNIX (1969-1979)
Last updated
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ UNIX (1969-1979)
Last updated
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University
1st Edition, เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1971: ระบบปฏิบัติการ UNIX ได้เริ่มทำงานอยู่บนเครื่อง PDP-11 และมีตัวคอมไพล์เลอร์สำหรับภาษา FORTRAN (FORTRAN Complier) โดยมีคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX ตั้งแต่เริ่มแรก ได้แก่ คำสั่ง ar, cat, chmod, chown, cp, dc, ed, find, ln, ls, mail, mkdir, mv, rm, sh, su, และ who
2nd Edition, เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1972: ระบบปฏิบัติการ UNIX ได้เริ่มขยายไปติดตั้งลงในเครื่องฯไม่น้อยกว่า 10 เครื่องภายในหน่วยวิจัย AT&T
3rd Edition, เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973: เริ่มมีการใส่ตัวคอมไพล์เลอร์ภาษาซี (C Complier) และมีการพัฒนาเทคนิคการทำ Pipe เป็นครั้งแรก
4th Edition, เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1973: ได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการ UNIX โดยรวมเกือบทั้งหมดด้วยภาษาโปรแกรมซี
5th Edition, เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1974: ระบบปฏิบัติการ UNIX ได้เริ่มถูกขยายนำไปติดตั้งลงในเครื่องฯไม่น้อยกว่า 50 ระบบภายในหน่วยวิจัย AT&T มากยิ่งขึ้น
6th Edition, พฤษภาคม ค.ศ. 1975: หลังจาก Ritchie และ Thompson ได้ตีพิมพ์ผลงานการวิจัยและพัฒนาระบบปฏิบัติการ UNIX ตัวใหม่ในปี ค.ศ. 1974 เป็นครั้งแรก ตัวระบบปฏิบัติการ UNIX ก็ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางออกไปสู่ภายนอกในที่สุด
หลังจากนั้นไม่นานพัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เริ่มมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในขณะที่ราคาฮาร์ดแวร์ก็เริ่มถูกลง ในที่สุดระบบปฏิบัติการ UNIX ที่เคยอยู่ในระดับมินิคอมพิวเตอร์ก็สามารถนำมาใช้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกว่า “XENIX” ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ผู้ที่ได้ซื้อลิขสิทธ์จาก AT&T ในช่วงปี ค.ศ. 1979 แม้ในยุคแรกของเครื่อง XENIX ยังมีเพียงหน้าจอที่แสดงแต่เพียงตัวหนังสือ (Text Mode) จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษ 1980 ก็ได้มีการพัฒนา X-Window ขึ้นมาทำให้การใช้งาน UNIX ก็เริ่มมี GUI (Graphic User Interface) เกิดขึ้น
บริษัท AT&T ยังคงผลักดันการพัฒนาระบบปฏิบัติการ UNIX จนกระทั่งถึงรุ่น System V Release 4 (SVR4) ทาง AT&T ได้พยายามรวมข้อกำหนดและมาตราฐานต่างๆ ของ BSD UNIX และ XENIX เข้าไปด้วยกัน ซึ่งทั้งสองสามารถถูกนำไปใช้งานได้บน SVR4 ได้ด้วยเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้กลุ่มนักพัฒนาและบริษัทที่เกี่ยวข้องเริ่มวิตกกังวลว่าจะเกิดการผูกขาดในการกำหนดมาตราฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX จากบริษัท AT&T หรือไม่ ทั้งหมดจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กร Open Software Foundation (OSF) ขึ้นเพื่อร่วมวิจัยและร่วมกำหนดมาตราฐานต่างๆของระบบ UNIX ในเวลาต่อมา
นอกจาก UC Berkeley แล้ว ก็ยังมีบริษัทรายอื่นๆที่พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับสูงเพื่อใช้ในด้านธุรกิจ เช่น บริษัทซันไมโครซิสเต็ม (SunOS และ Solaris) บริษัท DEC (เครื่อง Ultrix จนเปลี่ยนชื่อเป็น OSF/1) บริษัทไมโครซอฟต์ (เครื่อง XENIX) บริษัทไอบีเอ็ม (เครื่อง AIX) ซึ่งส่วนใหญ่จะยึดแนวระบบปฏิบัติการของ BSD หรือไม่ก็ System V สำหรับระบบปฏิบัติการ UNIX นั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Trademark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดและรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX ไว้ 2 แบบคือ
ระบบปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNIX ซึ่งใช้มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา
เช่น Digital UNIX, SCO UNIX, IBM's OpenEdition MVS
ระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX (UNIX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ
ปฏิบัติการ UNIX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนรับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux