Mutex Programming
การจัดจังหวะการทำงานของเทรด (Thread Synchronization)
Last updated
การจัดจังหวะการทำงานของเทรด (Thread Synchronization)
Last updated
Assoc. Prof. Wiroon Sriborrirux, Founder of Advance Innovation Center (AIC) and Bangsaen Design House (BDH), Electrical Engineering Department, Faculty of Engineering, Burapha University
Mutex lock (MUTual EXclusion lock) เป็น Semaphore อย่างง่ายที่นำมาใช้ในการจัดการ Mutual Exclusion กับทรัพยากรที่ถูกใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะกับ thread โดย Mutex จะเป็นตัวแปรที่มีได้ 2 สถานะ คือ สถานะปลดล็อค (unlock
) หรือ สถานะล็อค (lock
) ซึ่งใช้เพียง 1 บิต (1-bit) ที่แสดงสถานะของมัน แต่ในทางปฏิบัติเราใช้ตัวแปรจำนวนเต็ม (integer) โดยให้สถานะ unlocked
เป็นเลขศูนย์ และสถานะ lock
จะใช้เลขอื่นแทน
นักพัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมโดยเรียกใช้ความสามารถในการจัดกลไกการทำงานประสานกันระหว่างเทรด (synchronization mechanisms) โดยไม่ให้เกิดปัญหาในกรณีที่เทรดแต่ละตัวจะต้องเข้าไปใช้ทรัพยากรตัวเดียวกัน ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกันโดยใช้ไลบรารี pthread ซึ่งจากรูปด้านบนแสดงการอนุญาตเพียง thread #1 ตัวเดียวที่สามารถเข้าไปกำหนดค่า mutex (Mutual Exclusion Lock) เพื่อเข้าถึงทรัพยากรหรือตัวแปร โดยที่ thread #2 จะต้องรอ (block) คิวเพื่อเข้าถึงทรัพยากรหรือตัวแปรหลังจากที่ thread #1 ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัว thread #2 จึงจะสามารถเข้าไปกำหนดค่า mutex เพื่อขอเข้าถึงทรัพยากรหรือตัวแปรนั้นต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ mutex จะถูกใช้ได้เพียงในกรณีมีหลายเทรดในโปรเซสตัวเดียวกันเท่านั้น แต่ในกรณีที่มีหลายโปรเซสต้องการเข้าใช้ทรัพยากรเดียวกัน จะต้องแก้ไขโดยการใช้เทคนิค semaphore แทน mutex ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อ 6.2.3 ต่อไป
ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องสำหรับ mutex ภายในไลบรารี pthread
ได้แก่
pthread_mutex_lock()
ใช้สำหรับการเข้าไปล็อคค่าในตัวแปร mutex การเรียกฟังก์ชันนี้ก็จะถูกบล๊อคเอาไว้ไม่ให้เทรดอื่นเข้ามา จนกว่าเทรดตัวที่ใช้งานอยู่ทำการปล่อยตัว mutex เท่านั้น
pthread_mutex_unlock()
เพื่อปล่อยหรือปลดล็อคค่า mutex
จากเทรดที่ใช้ mutex
อยู่
pthread_mutex_trylock()
เพื่อใช้ตรวจสอบตัวแปร mutex
ว่ากำลังถูกใช้ล๊อคใช้งานอยู่หรือไม่ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เทรดแต่ละตัวต่างฝ่ายต่างรอให้แต่ละตัวเสร็จ (deadlock conditions)
ตัวอย่างแสดงการสร้างเทรดจำนวน 10 เทรด โดยแต่ละตัวจะเข้าไปใช้งานตัวแปรกลางชื่อว่า counter แต่จะต้องเพิ่มค่า counter ได้เพียงครั้งละ 1 เทรดเท่านั้น
คอมไพล์ และทดสอบรันโปรแกรม